หัวข้อ   “ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมกับการชุมนุมคัดค้าน
ประชาชนกว่า 60 % ไม่เห็นด้วยกับ การนิรโทษกรรม ให้แกนนำและนักการเมืองที่มีเอี่ยวกับการชุมนุม
และเห็นว่าทำเพื่อประโยชน์ของคน/นักการเมืองบางกลุ่ม มากกว่าเพื่อความปรองดอง
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน คน 1,195 พบว่า
 
                 ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม
ให้กับแกนนำ/ผู้นำการชุมนุม
เช่นเดียวกับการนิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองที่
เกี่ยวข้อง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.7 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อ
ถามถึงการนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ร่วมชุมนุม ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 45.4
ระบุว่าเห็นด้วย
ขณะที่ ร้อยละ 34.2 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ทั้งนี้เมื่อถามความคิดเห็นโดยรวม
ว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมพบว่า ประชาชนร้อยละ 55.1
ระบุว่าไม่เห็นด้วย
มีเพียงร้อยละ 28.2 ที่ระบุว่าเห็นด้วย
 
                 ส่วนจุดประสงค์หลักของการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมในครั้งนี้ประชาชน
ร้อยละ 55.3 มีความเห็นว่าเป็นการออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของผู้มีอำนาจ/ นักการ
เมืองบางกลุ่มเท่านั้น
มีเพียง ร้อยละ 28.7 ที่เห็นว่าทำเพื่อความปรองดองของคนในชาติ
 
                 สำหรับทิศทางการเมืองไทย หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านวาระที่ 3 และนำมาประกาศใช้จริง
ร้อยละ 41.3 เชื่อว่า อาจเกิดการชุมนุมต่อต้านขยายในวงกว้าง
รองลงมาร้อยละ 15.1 เชื่อว่าทำให้ประชาชนสงบสุข
ปรองดอง และร้อยละ 14.3 เชื่อว่าจะช่วยลดความตรึงเครียดทางการเมืองและสังคมลงได้
 
                  เมื่อถามว่าการชุมนุมคัดค้านการออก พ.ร.บ นิรโทษกรรมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะสามารถ
ยับยั้งการออกกฎหมายฉบับนี้ได้หรือไม่ ประชาชน ร้อยละ 46.8 คิดว่ายับยั้งไม่ได้
และมีเพียงร้อยละ 11.6 เท่านั้น
ที่คิดว่ายับยั้งได้
 
                 ส่วนกลิ่นอายของระดับความรุนแรงที่ประชาชนรู้สึกได้เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดที่จะนำ
การชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคือ การปิดถนนและยกระดับการชุมนุม เคลื่อนขบวนไปที่ต่างๆมากที่สุด
(ร้อยละ 26.4)
รองลงมาคือ การปิดถนน มีคนมาร่วมชุมนุมเยอะ และยืดเยื้อกินเวลานาน(ร้อยละ 24.4) และ การชุมนุม
จะรุนแรงถึงขั้นต้องใช้กำลังเพื่อสลายการชุมนุม(ร้อยละ 15.0)
 
                  นอกจากนี้กรุงเทพโพลล์ได้ทำการวัดระดับความขัดแย้งทางความคิดด้านการเมืองของคนในสังคม
ไทยปัจจุบันพบว่า ร้อยละ50.4 เชื่อว่ามีความขัดแย้งอยู่ในระดับมาก
รองลงมาร้อยละ 24.9 มีความขัดแย้งในระดับ
ปานกลาง และร้อยละ 21.8 มีความขัดแย้งในระดับมากที่สุด และมีเพียงร้อยละ 1.8 และ1.1 เท่านั้นที่ระบุว่ามีความขัดแย้ง
อยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นเกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่กระทำความผิดจากการชุมนุม
                 ทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
                 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

 
เห็นด้วย
( ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
( ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
( ร้อยละ)
รวม
( ร้อยละ)
นิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ร่วมชุมนุม
45.4
34.2
20.4
100.0
นิรโทษกรรมให้กับแกนนำ/ผู้นำการชุมนุม
21.9
61.0
17.1
100.0
นิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง
21.4
62.7
15.9
100.0
การออกกฎหมายนิรโทษกรรมในภาพรวม
28.2
55.1
16.7
100.0
 
 
             2. จุดประสงค์หลักของการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมในครั้งนี้ที่ประชาชนมอง

 
ร้อยละ
เพื่อประโยชน์ของผู้มีอำนาจ/ นักการเมืองบางกลุ่มเท่านั้น
55.3
เพื่อความปรองดองของคนในชาติ
28.7
ไม่แน่ใจ
16.0
 
 
             3. ทิศทางการเมืองไทย หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านวาระที่ 3 และนำมาประกาศใช้จริง

 
ร้อยละ
อาจเกิดการชุมนุมต่อต้านขยายในวงกว้าง
41.3
จะทำให้ประชาชนสงบสุข ปรองดอง
15.1
ช่วยลดความตรึงเครียดทางการเมืองและสังคมลงได้
14.3
อาจเกิดการแก้แค้นเอาคืนจากนักการเมืองที่ได้รับนิรโทษกรรม
13.6
จะมีการยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ทันที
9.2
อื่นๆ อาทิ ต้องมีการยกประเด็นเอาผิดในกรณีอื่นอีก
            ยังคงมีความขัดแย้งกันเหมือนเดิม ฯลฯ
6.5
 
 
             4. ความเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการออก พ.ร.บ นิรโทษกรรมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะสามารถ
                 ยับยั้งการออกกฎหมายฉบับนี้ได้หรือไม่

 
ร้อยละ
คิดว่าไม่ได้
46.8
คิดว่าได้
11.6
ไม่แน่ใจ
41.6
 
 
             5. กลิ่นอายของระดับความรุนแรงที่ประชาชนรู้สึกได้เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดที่จะนำการ
                 ชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

 
ร้อยละ
การชุมนุมรุนแรงถึงขั้นต้องใช้กำลังเพื่อสลายการชุมนุม
15.0
มีการปิดถนนและยกระดับการชุมนุม เคลื่อนขบวนไปที่ต่างๆ
26.4
มีปิดถนน มีคนมาร่วมชุมนุมเยอะ และยืดเยื้อกินเวลานาน
24.4
มีปิดถนน แต่คนมาร่วมชุมนุมน้อย และกินเวลาสั้น
9.8
ไม่แน่ใจ
24.4
 
 
             6. ความเห็นต่อระดับความขัดแย้งทางความคิดด้านการเมืองของคนในสังคมไทยปัจจุบัน

 
ร้อยละ
มากที่สุด
21.8
มาก
50.4
ปานกลาง
24.9
น้อย
1.8
น้อยที่สุด
1.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ที่มีต่อการการออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดทางการเมืองในช่วงวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม
พ.ศ. 2554 และการออกมาประกาศจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะเป็นผู้นำการชุมนุมคัดค้านการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ทั้งนี้เพื่อ
สะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
ของประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,195 คน เป็นชายร้อยละ 50.7 และหญิง ร้อยละ 49.3
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก
ข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21 - 23 ตุลาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 ตุลาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
606
50.7
             หญิง
589
49.3
รวม
1,195
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
309
25.9
             26 – 35 ปี
337
28.2
             36 – 45 ปี
272
22.7
             46 ปีขึ้นไป
277
23.2
รวม
1,195
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
650
54.4
             ปริญญาตรี
486
40.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
59
4.9
รวม
1,195
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
92
7.7
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
357
29.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
354
29.6
             เจ้าของกิจการ
55
4.6
             รับจ้างทั่วไป
131
11.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
56
4.7
             นักศึกษา
127
10.6
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
23
1.9
รวม
1,195
100.0
     
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776